หัวข้อ   “พรบ.งบประมาณปี 54 : หนี้สิน VS รัฐสวัสดิการ”
                 นักเศรษฐศาสตร์ 52.7% เห็นว่างบประมาณปี 54 ควรขาดดุลน้อยกว่านี้   พร้อมหนุนรัฐบาล
เดินหน้าจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีมรดก เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในสังคม


                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่
ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์  วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ  จำนวน 24 แห่ง   เรื่อง “พรบ.งบประมาณ
ปี 54 : หนี้สิน VS รัฐสวัสดิการ
” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 5 - 9 ส.ค. ที่ผ่านมา พบว่า

                 นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ  85.1  เห็นด้วยที่รัฐบาลจะดำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุล
แต่ในจำนวนนี้ร้อยละ 52.7 เห็นว่าระดับการขาดดุลต่อ GDP ควรน้อยกว่าร้อยละ 4.1 ต่อ GDP
(ซึ่งเป็นระดับ
ที่รัฐบาลเสนอให้สภาฯ พิจารณา)   ส่วนความเห็นเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 50 เชื่อว่ารัฐบาลจะ
จัดเก็บได้ตามเป้าหมายที่วางไว้   ขณะที่อีกร้อยละ 21.6 เชื่อว่าจะจัดเก็บได้น้อยกว่าเป้าหมายที่วางไว้

                 ส่วนประเด็นเรื่องระดับหนี้สาธารณะต่อ  GDP ที่ปัจจุบันอยู่ในระดับร้อยละ   42.6  ของ  GDP
นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 58.1 เชื่อว่ายังเป็นระดับไม่น่าเป็นห่วงและสามารถบริหารจัดการได้   และเมื่อถามความเห็น
เกี่ยวกับนโยบายงบประมาณของรัฐบาล   นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 35.1 เชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถดำเนินนโยบาย
งบประมาณแบบสมดุลได้ภายใน 5 ปี (ภายในปี 2558)   ขณะที่ร้อยละ 33.8 เชื่อว่าจะสามารถดำเนินนโยบาย
งบประมาณแบบสมดุลได้ภายใน 5-10 ปี (ช่วงปี 2559-2563)

                 สำหรับประเด็น การวางแผนจัดหารายได้เพื่อรองรับกับสังคมผู้สูงอายุซึ่งเป็นสังคมที่รัฐบาลจะต้องมี
รายจ่ายด้านสวัสดิการต่างๆ   สำหรับคนกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้นั้น  นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 71.6 มองว่ารัฐบาล
ยังขาดการเตรียมพร้อมในเรื่องดังกล่าว   นอกจากนี้   ยังได้เสนอแนะแนวทางในการปรับเพิ่มการจัดเก็บรายได้เพื่อรองรับ
การนำแนวทางรัฐสวัสดิการมาใช้    โดยนักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 38.1 สนับสนุนให้รัฐบาลเดินหน้าจัดเก็บภาษีที่ดินและ
สิ่งปลูกสร้าง ภาษีมรดก เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม    ร้อยละ 20.5 เสนอให้ขยายฐานภาษี
ให้ครอบคลุมทุกคน โดยเฉพาะเกษตรกร คนใช้แรงงาน   โดยเสนอให้รัฐนำสวัสดิการที่ประชาชนจะได้รับมาเป็นสิ่งจูงใจ
ให้คนเข้ามาอยู่ในระบบภาษีมากขึ้น    ร้อยละ 18.2 เสนอให้เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี   ระบบการจัดเก็บภาษี
รวมไปถึงการใช้จ่ายเงินภาษีที่รัฐบาลควรดำเนินการโดยคำนึงถึงหลักธรรมาภิบาลไปพร้อมๆ กัน

                 (โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
 
             1. ความเห็นต่อประเด็น การดำเนินนโยบายงบประมาณ ปี 2554 แบบขาดดุลของรัฐบาล
                 (ที่มา: รายงานงบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ 2554, สำนักงบประมาณ)

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
  • กับการขาดดุลงบประมาณที่ร้อยละ 4.1
    ของ GDP
ร้อยละ 31.1
  • แต่ระดับการขาดดุลต่อ GDP ควรน้อยกว่า
    ร้อยละ 4.1 ของ GDP
ร้อยละ 52.7
  • แต่ระดับการขาดดุลต่อ GDP ควรสูงกว่า
    ร้อยละ 4.1 ของ GDP
ร้อยละ  1.3
85.1
ไม่เห็นด้วย และคิดว่าควรดำเนินนโยบายงบประมาณแบบสมดุล
10.8
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
4.1
 
 
             2. ความเห็นต่อประเด็น การจัดเก็บรายได้ปีงบประมาณ 2554 ว่ารัฐบาลจะสามารถจัดเก็บ
                
รายได้ได้ตามเป้าหมายหรือไม่ (เป้าหมายการจัดเก็บรายได้ปี 2554 อยู่ที่ 1,958,500 ล้านบาท
                 เพิ่มขึ้นจากปี 53 ร้อยละ 20.5 (ที่มา: รายงานงบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ
                 2554, สำนักงบประมาณ)
)

 
ร้อยละ
เห็นว่าจะจัดเก็บรายได้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
50.0
เห็นว่าจะจัดเก็บรายได้ได้มากกว่าเป้าหมายที่วางไว้
18.9
เห็นว่าจะจัดเก็บรายได้ได้น้อยกว่าเป้าหมายที่วางไว้
21.6
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
9.5
 
 
             3. ความเห็นต่อประเด็น ระดับหนี้สาธารณะในปัจจุบันที่ระดับร้อยละ 42.59 ของจีดีพี
                 (ข้อมูล ณ พ.ค. 53)


 
ร้อยละ
น่าเป็นห่วง
35.1
ไม่น่าเป็นห่วง และสามารถบริหารจัดการได้
58.1
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
6.8
 
 
             4. คาดการณ์นโยบายงบประมาณรัฐบาลว่ารัฐบาลจะสามารถใช้นโยบายงบประมาณแบบสมดุล
                
ได้ในปีใด

 
ร้อยละ
ภายใน 5 ปี (ภายในปี 2558)
35.1
ภายใน 5-10 ปี (ช่วงปี 2559-2563)
33.8
นานกว่า 10 ปี (หลังปี 2563)
9.5
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
21.6
 
 
             5. ความเห็นต่อประเด็น ความพร้อมของรัฐบาลในการวางแผนจัดหารายได้เพื่อรองรับกับสังคม
                
ผู้สูงอายุซึ่งเป็นสังคมที่รัฐจะต้องมีรายจ่ายด้านสวัสดิการต่างๆ สำหรับคนกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น
                 (ในอนาคตอันใกล้)


 
ร้อยละ
พร้อมแล้ว
14.9
ยังไม่พร้อม
71.6
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
13.5
 
 
             6. ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐเกี่ยวกับแนวทางในการปรับเพิ่มการจัดเก็บรายได้เพื่อรองรับการนำแนวทาง
                 รัฐสวัสดิการมาใช้ (คำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ)


 
ร้อยละ
สนับสนุนให้รัฐบาลเดินหน้าจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
(ภาษีจากที่ดินว่างเปล่า)   ภาษีมรดก   เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
สร้างความเป็นธรรมแก่สังคม
31.8
ขยายฐานภาษีให้ทุกคน  โดยเฉพาะเกษตรกร   คนใช้แรงงาน โดยเสนอให้
รัฐนำสวัสดิการที่ประชาชนจะได้รับมาเป็นสิ่งจูงใจให้คนเข้ามาอยู่ใน
ระบบภาษีมากขึ้น   เช่นเดียวกับองค์กรธุรกิจที่นักเศรษฐศาสตร์มองว่า
ควรที่จะชักจูงให้เข้าสู่ระบบ
20.5
เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี ระบบการจัดเก็บภาษี   รวมไปถึง
การใช้จ่ายเงินภาษีของรัฐบาลที่ควรดำเนินโดยคำนึงถึงหลักธรรมาภิบาล
ไปพร้อมๆ กัน
18.2
กระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง   สนับสนุนกลไกให้ธุรกิจ
ภาคเอกชนมีกำไรเพิ่มขึ้น (เช่น การลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐาน
การลดต้นทุนการขนส่ง เป็นต้น)   โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs
6.8
เพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10
6.8
อื่นๆ เช่น   เพิ่มระดับการออมภาคครัวเรือน   การประกันสังคมนอกระบบ
การปรับโครงสร้างภาษี   เป็นต้น
15.9
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรง
                      ไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
                  2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์
                      สูงสุดกับประเทศไทย
 
กลุ่มตัวอย่าง:
                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใด
               อย่างหนึ่ง  จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้
               ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี)  ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจ
               ระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 24 แห่ง ได้แก่   ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการ
               พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
               สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า   สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
               บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด   ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา   ธนาคารไทยพาณิชย์
               ธนาคารนครหลวงไทย   ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย   ธนาคารกรุงไทย
               บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย   บริษัทหลักทรัพย์ภัทร   บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส   บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ
               บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน  บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ
               คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   และอาจารย์
               คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                        รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายใน
               ระยะเวลาที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 5 - 9 สิงหาคม 2553
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 17 สิงหาคม 2553
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
38
51.4
             หน่วยงานภาคเอกชน
22
29.7
             สถาบันการศึกษา
14
18.9
รวม
74
100.0
เพศ:    
             ชาย
42
56.8
             หญิง
32
43.2
รวม
74
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
1
1.4
             26 – 35 ปี
36
48.6
             36 – 45 ปี
20
27.0
             46 ปีขึ้นไป
17
23.0
รวม
74
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
3
4.1
             ปริญญาโท
57
77.0
             ปริญญาเอก
14
18.9
รวม
74
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
18
24.3
             6 - 10 ปี
21
28.4
             11 - 15 ปี
9
12.2
             16 - 20 ปี
8
10.8
             ตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป
18
24.3
รวม
74
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776